วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

เรื่อง HTML

HTML

1.) HTML ย่อมาจาก HyperText Markup Language
หมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ รูปภาพ หรือวัตถุ อื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยาย เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language)โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย

2.)รูปแบบการใช้คำสั่ง
<HTML> 
</HTML> คำสั่ง <HTML> คือคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม HTML และมีคำสั่ง </HTML> เพื่อบอกจุดสิ้นสุดโปรแกรม
<HEAD> 
</HEAD> คำสั่ง <HEAD> คือคำสั่งบอกส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง โดยมีคำสั่งย่อย <TITLE> อยู่ภายใน

<TITLE>
 </TITLE> คำสั่ง <TITLE> คือคำสั่งบอกชื่อเรื่อง จะไปปรากฏที่ Title Bar

<BODY>
</BODY> คำสั่ง <BODY> คือคำสั่งบอกส่วนเนื้อเรื่อง ที่จะถูกแสดงผลในเวปบราวเซอร์ ประกอบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร ตาราง เป็นต้น

<CENTER>
<CENTER> ข้อความ </CENTER> คำสั่งจัดให้ข้อความอยู่กึ่งกลาง
<br>
<br> คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่


แหล่งข้อมูล











วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์

1.)ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร?
ตอบ ภาษาใด ๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่น ๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน

2.)ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับ อะไรบ้าง? ยกตัวอย่าง 2 ภาษา
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ มี 3 ระดับ คือ ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ตัวอย่างภาษา    
             
                    1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)เป็นต้น
                    2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น

3.)ตัวแปลภาษา
ตอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
               1. แอสแซมเบลอร์ (Asseblers)
แอสแซมเบลอร์ (Asseblers) เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์ เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ภาษาแอสแซมบลีนี้ ยังจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)

              2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) โดยวิธีการแปลความหมายในรูปแบบของอินเตอร์พรีเตอร์ คือการอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้นครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้า จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้แปลอินเตอร์พรีเตอร์ได้แก่ ภาษาเบสิก

             3. คอมไพเลอร์ (Compilers)
คอมไพเลอร์ (Compilers) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกัน สำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่ง ที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ตัวแปลคอมไพเลอร์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล และภาษาฟอร์แทรน




แหล่งข้อมูล









ใบงานที่ 4 โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

1.)โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง?
ตอบ คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ  เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง  ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม" 

2.)โปรแกรมคอมพิวเตอร์มี่กี่ประเภท?
ตอบ 3 ประเภท
    1.โปรแกรมระบบ (System Software) 
        - โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่คอยดูแลระบบ รวมทั้งติดต่อกับฮาร์ดแวร์ส่วนต่างๆ ควบคุมการทำงานของคีย์บอร์ด จอภาพ ระบบอ่านและบันทึกข้อมูล ทำให้ผู้ใช้และผู้พัฒนาโปรแกรมต่างๆ ไม่ต้องเขียนโปรแกรมติดต่อกับระบบเอง เช่น โปรแกรม UNIX , โปรแกรม Window 8



   2.โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
         - โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอักชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น และยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาหรือวิเคราะห์ปัญหารวมทั้งตรวจสอบระบบ เช่น โปรแกรม McAfee Virus Scan , โปรแกรม WinZip




     3.โปรแกรมประยุกต์ (Application program) 
         - โปรแกรมประเภทนี้บางครั้งจะเรียกว่า ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น โปรแกรมเกม , โปรแกรมบัญชี , โปรแกรมด้านดาต้าเบส , โปรแกรมกราฟฟิก , โปรแกรมอินเตอร์เน็ต และโปรแกรมประมวลผลคำ 




แหล่งอ้างอิง





วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา

การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหา

1.) การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)
ตอบ  การเขียนรหัสจำลอง หมายถึง การเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความ
หมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความ Begin แล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม เช่น
คำสั่ง read หมายถึง การอ่านค่าหรือรับค่าข้อมูลตัวแปรตามที่กำหนดไว้
คำสั่ง print หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
และพิมพ์ข้อความ End เมื่อจบการทำงาน
การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (= ) แทนการกำหนดค่าตัวแปร


ตัวอย่างการเขียนรหัสจำลอง
ตอบ  จงเขียน Pseudocode จากโปรแกรมหาผลรวมของตัวเลข 2 ค่า แล้วแสดงผลรวมออกมาทางหน้าจอ
1. read x , y
2. calculate sum = x + y
3. print sum


แหล่งอ้างอิง
https://nattavan.wordpress.com/2012/09/08/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA/

https://sites.google.com/site/studyoverroom/home/khwam-hmay-laea-khan-txn-kae-payha/xal-kx-li-thum/kar-kheiyn-rhas-calxng















การเขียนผังงาน ( Flowchart )

1.) ความหมายของการเขียนผังงาน
ตอบ คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนขั้นแรกมาหลายปี โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนผังงาน เพื่อช่วยลำดับแนวความคิดในการเขียนโปรแกรม เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะทำให้เห็นภาพในการทำงานของโปรแกรมง่ายกว่าใช้ข้อความ  

2.) สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
ตอบ  คือ รูปที่ใช้ภาพที่ใช้แทนความหมายการทำงานในลักษณะต่างๆ ภายในผังงาน ประกอบไปด้วย การเริ่มต้น, การจบ, การกระทำ , การนำเข้าข้อมูล, การแสดงผลข้อมูล, การตัดสินใจ, คำอธิบาย, จุดเชื่อมต่อ, ทิศทางการทำงาน
สัญลักษณ์เหล่านี้เมื่อถูกนำมาเชื่อมต่อกัน จะกลายเป็น "ผังงาน (Flowchart)" ที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานเพื่อ
  • เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับความคิด
  • เห็นลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน


3.) ตัวอย่างการเขียนแผนผัง
ตอบ 

แหล่งอ้างอิง

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 2การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 ขั้นตอน

1) การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา การทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือ เงื่อนไขของปัญหาคืออะไรอีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผล กล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้
การระบุข้อมูลเข้าการพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา
การระบุข้อมูลออก การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ
การกำหนดวิธีประมวลผล การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก


2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน จากการทำความเข้าใจกับปัญหาจะช่วยให้เกิดการคาดคะเนว่าจะใช้วิธีการใดในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ ประสบการณ์เดิมของผู้แก้ปัญหาจะมีส่วนช่วยอย่างมาก

3) การดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้
การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้
ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการ หากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

4) การตรวจสอบและปรับปรุง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียด ของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


แหล่งอ้างอิง






My profile

                                                             My Profile
                                                        

                                                               Name : Tidtamon Vongdathbodee
        Nickname : Kaem
               Class : M.5/5  No.27
                     ID : 21149
              School : Assumption College Rayong
     Date of birth : 21 January 2002
                  Age : 16 years old
       Nationallity : Thai
   Favorite color : Green
   Favorite sport : Football , Badminton




วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่1 เรื่องกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ความหมายและขั้นตอนของการแก้ปัญหา
ตอบ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น

      ขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยระบบการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ 1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
        2. การเลือกเครื่องมือและออกแบบ
        3. การดำเนินการแก้ปัญหา
        4. การตรวจสอบและปรับปรุง 

2.ยกตัวอย่างปัญหา 1 ปัญหา พร้อมวิธีการแก้ปัญหา
ตอบ  ปัญหา : สอบไม่ผ่าน
วิธีการแก้ปัญหา : 1. ตั้งใจเรียนในห้องเรียน
                          2. ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
                          3. แบ่งเวลาให้ถูก
                         
แหล่งอ้างอิง

https://sites.google.com/site/krabwnkarthekhnoloyi/home




course outline

http://www.acr.ac.th/acr/CourseOutline/M/pdf/M4/Computer(T).pdf

ใบงานเรื่อง ขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ  โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากกา...