วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์

1.)ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร?
ตอบ ภาษาใด ๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ คำนี้มักใช้เรียกแทนภาษาโปรแกรม แต่ความเป็นจริงภาษาโปรแกรมคือส่วนหนึ่งของภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น และมีภาษาอื่น ๆ ที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เช่นกัน

2.)ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับ อะไรบ้าง? ยกตัวอย่าง 2 ภาษา
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ มี 3 ระดับ คือ ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ตัวอย่างภาษา    
             
                    1. ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) เป็นภาษาที่มนุษย์ทำความเข้าใจได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีจึงจะสามารถเขียนโปรแกรมสั่งงานได้มีข้อดีในส่วนที่เขียนโปรแกรมควบคุมอาร์ดาแวร์แต่ละส่วนได้โดยตรงจึงทำงานได้เร็ว แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำได้แก่ ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)เป็นต้น
                    2. ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language) เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาซี เป็นต้น

3.)ตัวแปลภาษา
ตอบ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
               1. แอสแซมเบลอร์ (Asseblers)
แอสแซมเบลอร์ (Asseblers) เป็นตัวแปลภาษาที่ทำหน้าที่แปลความหมายของสัญลักษณ์ เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแปลความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นให้เป็นเลขฐานสองที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ภาษาแอสแซมบลีนี้ ยังจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาระดับต่ำ (Low-level Language)

              2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters)
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreters) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่ง เขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) โดยวิธีการแปลความหมายในรูปแบบของอินเตอร์พรีเตอร์ คือการอ่านคำสั่งและแปลความหมายทีละบรรทัดคำสั่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดจะแจ้งข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนทราบและแก้ไขได้ทันที แต่เมื่อประมวลชุดคำสั่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้อีก ถ้าต้องการที่จะเรียกใช้นครั้งต่อไปต้องทำการประมวลชุดคำสั่งนี้ใหม่ ทำให้การทำงานของโปรแกรมค่อนข้างช้า จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดเล็ก ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้แปลอินเตอร์พรีเตอร์ได้แก่ ภาษาเบสิก

             3. คอมไพเลอร์ (Compilers)
คอมไพเลอร์ (Compilers) ทำหน้าที่แปลความหมายของชุดคำสั่งเขียนขึ้นด้วยโปรแกรมภาษาระดับสูง (high-level Language) เช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์ แต่มีความแตกต่างกัน สำหรับวิธีการแปลความหมาย เนื่องจากคอมไพเลอร์ จะอ่านชุดคำสั่งทั้งหมดและแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดในครั้งเดียว เมื่อแปลความหมายของชุดคำสั่งทั้งหมดแล้วจะได้เป็น Object Code หรือ สัญลักษณ์ของรหัสคำสั่ง ที่สามารถเก็บไว้ได้เมื่อต้องการใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเสียเวลาในการแปลชุดคำสั่งนั้นอีก จึงเหมาะกับการเขียนโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้ตัวแปลคอมไพเลอร์ ได้แก่ ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล และภาษาฟอร์แทรน




แหล่งข้อมูล









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ใบงานเรื่อง ขั้นตอนการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์

1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ  โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากกา...